ระบบธุรกิจ

ระบบธุรกิจ (Business System)

ความหมายของธุรกิจ
               
            ธุรกิจ ( Business ) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้า และมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ะุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตชองมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป้นองค์กรที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต การประกอบธุรกิจต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สิ่งที่สำคัญที่กำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ประเภทของธุรกิจ

             1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture) ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวน การทำป่าไม้ ฯลฯ


             2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค ทั้งในรูปแบบของ                        อุตสาหกรรมในครัวเรือน และอุตสาหกรรมในโรงงาน
                                 

             3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการกระจายสินค้าที่ผลิตจาก                                    อุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้อุปโภคบริโภคสินค้าตามความต้องการ                       ได้แก่ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างๆ

             4. ธุรกิจการก่อสร้าง (Construction) เป็นธุรกิจเกี่ยวกับในการนำวัสดุต่างๆ ได้แก่ อิฐ หิน ปุน                          ทราย มาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การสร้างถนน อาคาร เป็นต้น


             5. ธุรกิจการเงิน (Finance) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นทำงานได้คล่องตัวขึ้น                               เนื่องจากในการทำธุรกิจจะต้องเริ่มจากการลงทุน ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุน เช่น นำมาซื้อ                     ที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร จ้างคนงาน ฯลฯ


             6. ธุรกิจให้บริการ (Service) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค                        ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการสื่อสาร ฯลฯ


             7. ธุรกิจอื่นๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบ                        ธุรกิจอาชีพอิสระต่างๆ เช่นวิศวกร แพทย์ สถาปัตยกรรม ช่างฝีมือ ประติมากรรม ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของธุรกิจ

             1. ผลกำไร (Profit) วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือผลกำไร ซึ่งเป็นผลตอบแทนของการลงทุนจากทรัพย์สิน แรงงานและความรู้ความสามารถผลกำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมต่อไป ดังนั้นเมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าและบริการแล้วจะต้องขายได้สูงกว่าต้นทุนและค่าใช้จ่าย ผลต่างคือกำไรจากการประกอบการ ซึ่งจะทำให้กิจการมีความเจริญก้าวหน้า
             2. ความอยู่รอด (Survival) เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจแล้วย่อมต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และมีกิจการที่ดำเนินการอย่างยาวนาน เพื่อทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเป็นความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด แต่จะเพิ่มความต้องการมากขึ้น ทำให้ธุรกิจดำเนินการไปได้
             3. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibilities) ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของธุรกิจคือมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของธุรกิจ

               1. ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
               2. ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค
               3. เกิดการจ้างงาน
               4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
               5. เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ

             1. คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบ
             2. เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุน เพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจ
             3. วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมากผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไรสูงสุดตามมา
             4. วิธีปฏิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ

หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ

           1. การผลิต (Production) เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
           2. การจัดหาเงินทุน (Capital) เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแหล่งเงินทุนมี 2 แหล่งดังนี้
               2.1 แหล่งเงินทุนภายใน เป็นเงินทุนที่ได้จากเจ้าของกิจการ อันได้แก่ เงินที่นำมาลงทุน และจากกำไรสะสม
               2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก เป็นเงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายนอกกิจการ
            3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบะุรกิจจะต้องจัดหาบุคคลที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยใช้หลักการ "จัดคนให้เหมาะกับงาน " 
            4. การบริหารการตลาด (Marketing Management) เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผุ้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น